วันอาทิตย์อยู่บ้านทั้งวันจนประมาณ สี่โมงเย็นไปเดินโลตัสซื้อของกินของใช้มาไม่กี่อย่างเพราะซื้อตุนไว้ตั้งแต่อาทิตย์ที่แล้วเยอะเลย ช้อปเสร็จไปบ้านแม่พี่บิ้นเหมือนเคย วันครอบครัว ต้องกินข้าวกันพร้อมหน้า ปกติไปถึงก็จะได้ยินเสียงหลานๆ เจี้ยวจ้าวกัน วันนี้เงียบแฮะ ไปไหนหันหมดหนอ แม่บอกว่าพี่กวางกะพี่น็อตพาลูกๆ มาว่ายน้ำด้วย เด็กๆ ก็เลยไม่มากินข้าวด้วยวันนี้
นั่งกินข้าวกันสี่คนเอง แต่อาเฮียบอกว่าการบ้านเนเน่ยังไม่เสร็จ ทำไม่ได้ไม่มีใครช่วยดูให้ต้องรออาแหม่มมาช่วย นึกในใจเราจะช่วยได้เหรอเนี่ย กินข้าวเสร็จซักพัก ก็ได้ยินเสียงเด็กๆ วิ่งเข้ามา สามสาว มาครบเลย เนเน่มาพร้อมการบ้าน ยื่นมาให้ช่วยดูให้หน่อย อ่านแล้วงง วรรณยุกต์ อักษรกลาง อักษรต่ำ อักษรสูง เสียงวรรณยุกต์ รูปวรรณยุกต์ โอ้ยยย งงครับพี่น้อง เพราะตอนเรียนไม่เคยจำ และไม่คิดจะทำและท่อง ซวยล่ะสิ ทำงัยเนี่ย เรียกพี่บิ้นมาช่วยยังไม่ทันอธิบาย จีจี้มาลากแขนไปเล่นด้วย เลยปล่อยพี่บิ้นรับกรรมไป
เล่นกะจีจี้ได้ซักพัก กลับมายังไม่เสร็จแฮะ ยังไล่กันอยู่เลย อันไหนกลาง อันไหนสูง อันไหนต่ำ ต้องมาช่วยอีกสามคนเลยทีนี้ พี่บิ้น อาเฮียและอาแหม่ม สุดท้ายก็มาจบตรงอาแหม่มสอนให้ช่วยทำจนเสร็จ เอ๊ามาดูกันว่า ไอ้ที่ทำให้งงเนี่ยมันเป็นงัย งงจริงๆ นะ ถ้ารู้ว่าต้องมาสอนการบ้านหลานแบบนี้ รู้งี้ตั้งใจเรียนตั้งแต่ตอนเด็กๆ จะได้จำ ไม่ต้องมาปวดหัวแบบนี้ อาทิตย์หน้ามันจะมีอะไรอีกวะเนี่ย
ไตรยางศ์
ภาษาไทยเป็นภาษาที่มีเสียงวรรณยุกต์ จัดแบ่งตัวพยัญชนะไทยออกเป็น 3 หมู่ เรียกว่า "ไตรยางศ์" ได้แก่
หมู่ที่ 1 เรียกว่า อักษรสูง มี 11 ตัว คือ ข ข (ข.ขวด) ฉ ฐ ถ ผ ฝ ศ ษ ห ถ้านำมาประสมกับ สระเดียวกัน และใช้วรรณยุกต์รูปเดียวกัน จะออกเสียงวรรณยุกต์ ได้ตรงกันทั้งหมู่ ต่างกันแต่พยัญชนะต้นของพยางค์ เท่านั้น เช่น ข่า ฉ่า ส่า ข้า ฉ้า ส้า
หมู่ที่ 2 เรียกว่า อักษรกลาง มี 9 ตัว คือ ก จ ด ต ฎ ฏ บ ป อ เมื่อนำมาประสมกับสระเดียวกัน และใช้วรรณยุกต์ รูปเดียวกันจะออกเสียงวรรณยุกต์ได้ตรงกัน เช่น
ก่า จ่า ด่า ต่า บ่า ป่า อ่า
หมู่ที่ 3 เรียกว่า อักษรต่ำ มี 24 ตัว คือ ค ค(ค.คน) ฆ ง ช ซ ฌ ญ ฑ ฒ ณ ท ธ น พ ฟ ภ ม ย ร ล ว ฬ ฮ
ถ้านำมาประสมกับสระเดียวกัน และใช้วรรณยุกต์รูปเดียวกัน จะออกเสียงวรรณยุกต์ ได้ตรงกันทั้งหมู่ต่างกันแต่เสียงพยัญชนะต้นของพยางค์เท่านั้น เช่น คัง งัง ชั่ง นั่ง ค้อน ช้อน ฟ้อน
(ข.ขวด มีหัวหยักเช่นเดียวกับ ซ ค. คน ส่วนบนหยักเช่นเดียวกับ ต ปัจจุบันไม่มีที่ใช้ในการเขียนแล้ว)
โดยปกติอักษรภาษาไทยผันวรรณยุกต์เช่นนี้
กา ก่า ก้า ก๊า ก๋า (อักษรกลางผันได้ ๕ เสียง รูปวรรณยุกต์ ๔ รูป)
- ข่า ข้า - ขา (อักษรสูงผันได้ ๓ เสียง รูปวรรณยุกต์ ๒ รูป)
คา - ค่า ค้า - (อักษรต่ำผันได้ ๓ เสียง รูปวรรณยุกต์ ๒ รูป)
การเขียนรูปวรรณยุกต์ เหมือนเขียนตัวเลข (0 1 2 3 4) จุดเริ่มต้นเริ่มที่ไหน ตัวเลข 0 ไม่ต้องเขียนรูปวรรณยุกต์
///////////////////////////////////////////////////////
การเขียนรูปวรรณยุกต์ถ้าเสียงตัวสะกดเป็นเสียงกัก อันได้แก่ กก กบ กด
เสียงวรรณยุกต์เสียงแรกและเสียงสุดท้ายจะหายไป เป็น
X ก่า(ก) ก้า(ก) ก๊า(ก) X
- ข่า(ก) ข้า(ก) - X
X - ค่า(ก) ค้า(ก) -
เมื่อเป็นเช่นนี้ทำให้การเขียนรูปวรรณยุกต์เลื่อน โดยตำแหน่ง
เริ่มต้นหายไป ตำแหน่งเริ่มต้นใหม่เริ่มที่เสียงที่สอง เสียงที่
สองจึงไม่ต้องเขียนรูปวรรณยุกต์ เพราะถือเป็นตำแหน่ง0
สำหรับอักษรต่ำตำแหน่งเริ่มที่เสียงที่สาม ไม่ต้องเขียนรูป
วรรณยุกต์
X กาก ก้าก ก๊าก X
- ขาก ข้าก - X
X - คาก ค้าก -
//////////////////////////////////////////////////////
สระเสียงสั้น โดยปกติตามด้วยเสียงกักลม จึงถือรวมอยู่ใน
กลุ่มสระเสียงสั้นที่ตามด้วยตัวสะกดเสียงกัก แต่หากตาม
หลังด้วยตัวสะกด กง กม กน เกย เกอว จะสามารถผันได้
ตามต้นแบบทุกประการ
กัง กั่ง กั้ง กั๊ง กั๋ง
. ขั่ง ขั้ง - ขัง
คัง - คั่ง คั้ง - (มั้ง ไม่เขียนว่า มั๊ง)
. (มั้ย ไม่เขียนว่า มั๊ย)
/////////////////////////////////////////////////////////
สระเสียงสั้นบวกกับตัวสะกดเสียงกัก ให้นำเอากฎชุดที่สอง
มาใช้ โดยอักษรต่ำ มีการกระโดดเสียงเริ่มต้นไปอยู่ที่
เสียงที่สี่ เสียงดังกล่าวจึงไม่ต้องใส่วรรณยุกต์ เสียงที่
สามเป็นเสียงที่ไม่ค่อยปรากฏ ให้คงรูปวรรณยุกต์เดิม
กาก ก้าก ก๊าก ---> กัก กั้ก กั๊ก
ขาก ข้าก ---> ขัก ขั้ก
. คาก ค้าก ---> คั่ก คัก
(เช่น ขุ่นคลั่ก)
//////////////////////////////////////////////////////////
อย่างไรก็ตาม มีเสียงที่เป็นข้อยกเว้นอยู่ ได้แก่ เสีบงที่
เป็นคำลงท้ายต่างๆ "น่ะ" "ค่ะ" "ย่ะ" "ว่ะ" เสียงเหล่านี้อาจ
ออกเป็นเสียงที่สาม เหมือน "น่า" "ค่า" "ย่า" "ว่า" หรือออก
เป็นเสียงต่ำ "หนะ" "ขะ" "หยะ" "หวะ" ได้ โดยใช้รูปเดียวกัน
หมายเหตุ สูตรนี้เป็นสูตรส่วนตัวที่ใช้สอนภาษาไทยให้คน ต่างชาติ เพราะคนต่างชาติไม่ได้เรียนคำเป็นคำตาย
จำง่ายๆ อักษรสูงอักษรต่ำไม่สามารถใช้วรรณยุกต์ตรี วรรณยุกต์จัตวาได้
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น