ย้อนกลับไปในปีโชวะที่ 33 หรือราวปีค.ศ. 1958 ขณะที่หอโตเกียวสร้างใกล้จะเสร็จ – ยังมีชุมชนเก่าแก่แห่งหนึ่งตั้งอยู่บนถนนสายที่ 3 ในเขตยูฮีของมหานครโตเกียว ซึ่งคลาคล่ำไปด้วยบ้านเรือน ร้านค้า กรุ่นไปด้วยรอยยิ้มและเสียงหัวเราะ และยังมีหลากหลายเรื่องราวของหลากหลายผู้คน ที่พำนักอาศัยอยู่ในชุมชนแห่งนั้น.
เรื่องมีอยู่ว่าพระเอกเรียนจบจากมหาวิทยาลัยโตเกียว แต่ใจรักการเป็นนักเขียน มาเขียนนวนิยายลงหนังสือเด็ก เขา..ถูกตัดขาดจากครอบครัวมาอาศัยร้านขายขนมเล็กๆ ตัวเองแต่งเรื่องส่งสำนักพิมพ์ มีความฝันอยากส่งเรื่องเข้าประกวดให้ได้รางวัล แต่ทว่า...เรื่องของเขาไม่เคยเข้ารอบ วันนึงมีคนพาเด็กผู้ชายไร้ญาติขาดมิตรเข้ามาในหมู่บ้านโดยพาไปร้านขายเหล้า ให้เจ้าของร้านซึ่งเป็นนางเอกช่วยอุปการะ แล้วผู้หญิงคนนี้ก็มาขอร้องให้พระเอกช่วยรับไว้เพราะเข้าใจว่าคงมีฐานะดี พระเอกไปกินเหล้าที่ร้านตอนเมา ก็เผลอตัวตกปากรับคำที่จะช่วย พอตื่นเช้ามาเห็นเด็กนั่งอยู่ในบ้านก็ตกใจ แล้วเริ่มจำได้ว่า โธ่เอ๊ย..ตูพลาดไปแล้ว ไล่เด็ก เด็กก็ไม่ไป เด็กหยิบหนังสืออ่านขึ้นมาเล่มหนึ่ง แล้วบอกว่าเขาเป็นแฟนนักอ่านคอลัมน์ของพระเอกเป็นประจำ จากจุดนี้เองทำให้พระเอกที่อยู่อย่างซังกะตาย แบบนักเขียนไส้แห้ง ---รู้สึกภาคภูมิใจ และปลื้มใจที่มีคนนิยมชมชอบตัวเขา และงานเขียนของเขา ทำให้เขารับเด็กไว้อุปการะ
นางเอกเมื่อมารู้ความจริงว่าพระเอกฐานะไม่ดีนัก รู้สึกผิด ก็เลยช่วยทำอาหาร หรือนำอาหารมาให้ หมั่นมาเยี่ยมเยียนบ่อยๆ
เด็กคนนี้มีจินตนาการสูง เขียนเรียงความส่งครูจนครูยกเป็นบุคคลตัวอย่าง ว่าเขียนได้ดี พูดถึงความก้าวหน้าของเทคโนโลยีในอนาคต มาวันนึงพระเอกกำลังกลุ้มใจคิดเรื่องไม่ออก ไม่รู้จะเขียนอะไร แอบไปเห็นสมุดเรียงความของเด็กก็หยิบมาอ่าน เกิดไอเดียต่อยอดนำไปเขียนเป็นนวนิยายส่งโรงพิมพ์ พอหนังสือออก พระเอกกลัวว่าเด็กจะรู้ ก็แอบเก็บหนังสือไว้ แต่พอเด็กไปโรงเรียนเพื่อนๆ ก็มารุมว่าพระเอกว่าขโมยไอเดียเด็กไปเขียน>>>เมื่อเด็กกลับมาบ้านก็ยื่นหนังสือมาตรงหน้าพระเอก แล้วก็ร้องไห้>>>
ฉากนี้สุดคาดเดาว่าจะเกิดอะไรขึ้น พระเอกรู้สึกละอายที่เด็กรู้ความจริง แก้เก้อด้วยการจะให้เงิน ให้สิ่งของตอบแทน แต่เด็กเอาแต่ส่ายหน้าในข้อเสนอต่างๆ สุดท้ายพูดว่า “ผมดีใจ และภูมิใจมากเลยที่คุณเอาเรื่องที่ผมเขียนไปแต่งเป็นนิยาย ทำให้เรื่องของผมได้ลงหนังสือด้วย ผมดีใจมากจริงๆ”
จากเหตุการณ์นี้ทำให้เห็นว่า
มุมมองของผู้ใหญ่และเด็กนั้นต่างกัน ผู้ใหญ่อาจจะมองในเรื่องผลประโยชน์ แต่เด็กกลับมองในแง่ความฝันที่เป็นจริงสำคัญเหนือสิ่งอื่นใด
การที่เด็กร้องไห้คนมองแล้วแปลความไปได้หลายอย่าง ตอนแรกคิดว่าเสียใจ แต่ที่แท้ร้องเพราะปลื้มใจ
นอกจากนั้นการที่เด็กสามารถเขียนเรื่องได้ เพราะไม่มีกับดักของจินตนาการ เด็กไม่มีเรื่องปากท้องมาเป็นกังวล ไม่ได้หวังรางวัล เหมือนพระเอกที่คิดเรื่องไม่ออก เพราะรู้ว่าตัวเองต้องลำบากหากเขียนไม่ออก ซ้ำยังครุ่นคิดแต่เรื่องที่จะเขียนให้ได้รางวัล เลยกลายเป็นการปิดกั้นความคิดสร้างสรรค์ไปซะเลย
การที่เด็กร้องไห้คนมองแล้วแปลความไปได้หลายอย่าง ตอนแรกคิดว่าเสียใจ แต่ที่แท้ร้องเพราะปลื้มใจ
นอกจากนั้นการที่เด็กสามารถเขียนเรื่องได้ เพราะไม่มีกับดักของจินตนาการ เด็กไม่มีเรื่องปากท้องมาเป็นกังวล ไม่ได้หวังรางวัล เหมือนพระเอกที่คิดเรื่องไม่ออก เพราะรู้ว่าตัวเองต้องลำบากหากเขียนไม่ออก ซ้ำยังครุ่นคิดแต่เรื่องที่จะเขียนให้ได้รางวัล เลยกลายเป็นการปิดกั้นความคิดสร้างสรรค์ไปซะเลย
มีอีกหลายฉาก หลายตัวละครที่ประทับใจ ...........โดยเฉพาะครอบครัวซูซูกิ ที่จ้างเด็กนักเรียนเพิ่งจบมาเป็นช่างซ่อมรถ โดยประกาศรับสมัครทำให้คนเข้าใจว่าเป็นบริษัทประกอบรถยนต์ใหญ่โต เด็กผู้หญิงคนหนึ่งนั่งรถไฟมาจากต่างเมืองด้วยความเข้าใจผิด พอมาเห็นสภาพบ้านที่เป็นอู่ซ่อมรถยนต์เล็กๆ ก็ผิดหวัง ตอนแรกคิดว่าจะมาเป็นเลขา หรือสาวออฟฟิส แต่ต้องมาเป็นช่างซ่อมรถมอมแมม เธอพยายามตั้งใจทำงานแต่ก็โดนเจ้าของร้านหงุดหงิดที่เธอไม่รู้จักแม่แรง และโกรธที่เธอโกหกตอนสมัครงาน เด็กก็เลยโกรธตอบว่าเจ้าของร้านก็โกหก จากร้านซอมซ่อ ล่อหลอกให้คนคิดว่าเป็นบริษัทรถยนต์ใหญ่ เจ้าของร้านโกรธจัดใครห้ามก็ไม่ฟัง <<ที่โกรธมากเพราะสูญเสียความภาคภูมิใจ โดนดูถูกความสามารถหาว่าเป็นได้แค่เจ้าของร้านเล็กๆ >>> อาละวาดจะทำร้ายเด็ก เด็กก็หนีไปบ้านนักเขียนที่อยู่ฝั่งตรงข้าม ท่านก็ตามไปทำร้ายทุกคนที่ขวางหน้า ลูกเมียช่วยห้ามก็ไม่ฟัง จนเจ้าของร้านกลับมาบ้านตะโกนไล่เด็กให้ออกจากบ้าน โยนเสื้อผ้า ข้าวของต่างๆ ออกมานอกร้าน ลูกชายเจ้าของร้านหยิบกระดาษแผ่นหนึ่งขึ้นมา รีบตะโกนบอกพ่อว่า เธอไม่ได้โกหก เธอเขียนในใบสมัครว่า ซ่อมรถจักรยานได้ พ่อเองนั่นแหละที่อ่านผิด เมื่อพ่อได้ยินดังนั้น รีบวิ่งลงมาดู แล้วก็รู้สึกผิดและอับอาย รีบไปขอโทษเด็กผู้หญิงลูกจ้างตามธรรมเนียมญี่ปุ่น คือนั่งคุกเข่าแล้วก้มลงคำนับ สารภาพผิด เรื่องนี้เลยทำให้เจ้าของร้านเปลี่ยนไป กลายเป็นคนใจเย็นขึ้น และดูแลลูกจ้างสาวคนนี้ราวกับคนในครอบครัว เด็กลูกจ้างก็ขยันตั้งใจทำงานเป็นอย่างดี
ตอนจบยิ่งประทับใจมาก เด็กที่อยู่กับนักเขียนมีพ่อเศรษฐีมารับตัวไป จากความรักและผูกพัน ความเข้าใจกัน พระเอกไม่อยากให้เด็กไป แต่ก็เห็นว่าตัวเองคงไม่สามารถสรรหาสิ่งดีๆ มาช่วยสร้างอนาคตให้เด็กได้ จึงแสดงให้เด็กเห็นว่าตัวเองยินดีให้เด็กกลับไปกับพ่อ เด็กไม่อยากไป แต่ก็จำยอมนั่งรถกลับไปกับพ่อผู้เย็นชา เด็กนั่งในรถไปกำปากกาที่พระเอกให้ไว้เป็นของขวัญไว้แน่น ฉากจบประทับใจจนน้ำตาไหลจริงๆ ในที่สุดเด็กก็เลือกที่จะกระโดดจากรถวิ่งกลับมาหาพระเอกที่วิ่งตามรถคันนั้นไป พราะ...นึกแล้วว่าเธอต้องกลับมา
เป็นหนังที่น่ารักมาก ดูไปยิ้มไป...
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น