วันอังคารที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2557

ชวนมาดื่มกาแฟกัน 3 in 1 หอม หวาน ละมุนละไม



วันก่อนไปเดินซุปเปอร์มาร์เก็ต คุณพ่อบ้านไปลองชิมกาแฟสาธิตยี่ห้อหนึ่งถึงกับติดใจ ถึงกับซื้อติดมือกลับมาด้วยหนึ่งห่อใหญ่ ยิ่งพวกกาแฟแบบ 3 in 1 บ้านนี้ไม่ค่อยได้ดื่มเลย จะดื่มก็เฉพาะตอนไปเที่ยวต่างจังหวัด คือพกเอาไว้ดื่มแก้ขัด แม่แหม่มก็เลยแปลกใจ เลยคิดว่าจะขอชิมซักหน่อยว่าเป็นยังไง
กาแฟที่ว่านี้คือ ซุปเปอร์บราวน์คอฟฟี่ เป็นกาแฟตัวใหม่ของซุปเปอร์คอฟฟี่ แบรนด์ที่คุ้นเคยกันดีอยู่แล้ว ตามหน้าซองเขาว่า ใช้น้ำตาลทรายแดงหรือบราวน์ชูการ์ เป็นส่วนประกอบ พอฉีกซองออกมายอมรับเลยว่า กลิ่นแปลกไปกว่ากาแฟ 3in1 ทั่วๆ ไป กลิ่นมันหอมแบบเบาๆ เลยจัดการชงใช้น้ำร้อนปกติ พอละลายน้ำเท่านั้นแหละ กลิ่นของกาแฟยิ่งชัดขึ้น มันจะหอมแบบกลมกล่อมเหมือนคาราเมลเบาๆ เลยต้องลองจิบช้าๆ รสชาติก็ยิ่งใช่เลย เป็นเหมือนกาแฟในร้านหรูๆ ที่เราชอบไปนั่งจิบกาแฟกัน ทั้งกลิ่น ทั้งรส มันละมุนละไม กลมกล่อมไปหมด



เลยถามคุณพ่อบ้านว่ามันเป็นมายังไง ก็พอได้ใจความว่า ปกติร้านกาแฟดีๆ เขาจะมีให้เลือกนะว่าจะเติมน้ำตาลทรายขาว หรือน้ำตาลทรายแดง (บราวน์ชูการ์) ถ้าคอกาแฟจริงๆ มักจะเติม บราวน์ชูการ์ เพราะมันจะเป็นน้ำตาลที่ไม่ได้ผ่านการฟอกสีซึ่งจะดีต่อสุขภาพ แล้วบราวน์ชูการ์เองก็จะช่วยขับให้รสชาติกาแฟดีขึ้น เพราะตัวน้ำตาลเองจะมีกลิ่นหอมแบบธรรมชาติ ทำให้ไม่ไปรบกวนกลิ่นของกาแฟที่เข้มข้น ช่วยให้กลิ่นหอมละมุนมากขึ้น ซุปเปอร์บราวน์คอฟฟี่เลยเป็นกาแฟแบรนด์แรกเลยที่ใช้บราวน์ชูการ์เป็นส่วนผสมในกาแฟ 3in1 สุดยอดมาก ขนาดที่คอกาแฟอย่างพ่อบ้าน ที่ไม่ชอบกาแฟ 3in1 ยังรีบซื้อมาลองทีเดียว


 ก็เลยได้ความรู้ใหม่ของคอกาแฟว่า รสชาติกับกลิ่นเป็นอะไรที่ต้องไปด้วยกัน กาแฟจะกลมกล่อมวัตถุดิบต้องเข้ากันได้ กาแฟดีอาจจะไม่ต้องแพงมาก แค่ถูกลิ้นถูกคอถูกใจคอกาแฟก็สร้างความพึงพอใจได้แล้ว แต่ดูๆ ไปแล้ว เดี๋ยวนี้แม่แหม่มว่าการกินกาแฟมันมีองค์ประกอบมากกว่านั้นเยอะ บางทีเรื่องรสชาติอาจจะไม่สำคัญเท่าบรรยากาศ แบรนด์ และสถานที่ซะแล้ว ใช่หรือเปล่า อันนี้ต้องถามคอกาแฟที่ชอบไปต่อแถวกันในร้านดังแล้วค่ะ แต่สำหรับแม่แหม่มแล้วได้ลองซุปเปอร์บราวน์คอฟฟี่ แล้วให้ความรู้สึกดี เหมือนนั่งอยู่ในร้านกาแฟเลยค่ะ

วันอังคารที่ 2 กันยายน พ.ศ. 2557

เพราะเด็กไม่ใช่แค่ผู้ใหญ่ตัวเล็ก จึงต้องการการดูแลเป็นพิเศษ


เริ่มเข้าหน้าฝนทีไร ก็มักได้ข่าวคราวคนรู้จักเจ็บไข้ได้ป่วยกัน บางคนก็เลือกกินยาเอง บางคนก็เลือกไปคลีนิค แต่บางคนก็เลือกไปโรงพยาบาลกัน แตกต่างกันไปอาจจะด้วยหลายสาเหตุ คนที่กินยาเองก็อาจจะคิดว่านิดหน่อยไม่เป็นไรเดี๋ยวก็หาย คนที่ไปคลีนิคก็บอกว่าสะดวกดี รอไม่นานแถมยาบางตัวก็ถูกกว่าโรงพยาบาล ส่วนคนที่ไปโรงพยาบาลก็บอกว่าอยากจะให้หายขาด และบางคนก็เบิกประกันได้ ทุกอย่างมีเหตุผล และปัจจัยหลายอย่าง

แต่บางเรื่องราวก็อาจจะไม่ง่ายอย่างที่คิด บางครั้งที่ลูกป่วยเราเองก็อยากให้เด็กอธิบายให้ละเอียดจะได้รู้ว่าซีเรียสขนาดไหน แต่บางทีเด็กก็อธิบายไม่ได้ ก็เลยต้องอาศัยคุณหมอเป็นคนลำดับอาการ ตรวจดูว่ามีความผิดปกติอย่างไร แม่แหม่มถึงเลือกที่จะไปโรงพยาบาล ในอาการที่มันไม่แน่ชัด เพราะบางทีอาการที่เราคิดว่าไม่ร้ายแรง แต่จริงๆ แล้วอาจจะหนักหนากว่าที่คิด อย่างประสบการณ์ที่แม่แหม่มเคยพบเห็นมากับครอบครัวของน้องสาวของปะป๊า

เรื่องเกิดขึ้นเมื่อเกือบๆ เจ็ดปีมาแล้ว ลูกคนเล็กของน้องสาวปะป๊า เมื่อตอนอายุได้สองขวบมีอาการเดินไม่ตรง เซบ้าง บางทีก็ล้มแผละ หนักเข้าก็ร้องให้อุ้มตลอดเวลา ไม่ยอมเดิน แรกๆ ก็คิดว่าอ้อนแม่ แต่พอมากขึ้นก็เลยคิดว่าอาจจะเป็นอะไรที่กระดูกขา ก็เลยพาไปตรวจที่โรงพยาบาลสมิติเวชศรีนครินทร์ ไปพบกับผู้เชี่ยวชาญด้านกระดูก ซึ่งเอ็กซเรย์แล้วก็ไม่พบความผิดปกติ แต่คุณหมอสังเกตว่าขนาดศีรษะของน้องใหญ่กว่าปกติ ก็เลยขอวัดดู ก็เห็นว่าเกินมาตรฐาน บวกกับอาการทั้งหลายที่เกิดขึ้น เลยบอกคุณแม่ให้ลองปรึกษากับแพทย์ทางด้านสมอง

ครั้งแรกที่ได้ฟังก็งงๆ ว่าไม่น่าจะเกี่ยวกันแต่น้องสาวของปะป๊าก็ลองทำตามดู เพื่อจะได้รู้ปัญหา พอพบกับคุณหมอเท่านั้นแหละ เจอสั่งให้ MRI สมอง รอผลอยู่ครึ่งวัน พร้อมกับตรวจอาการต่างๆ สรุปว่าน้องมีเนื้องอกที่สมอง ซึ่งไปกดทับช่องทางระบายน้ำในสมอง ทำให้ศีรษะบวมน้ำ ต้องรีบผ่าตัด เพื่อระบายน้ำออก ก่อนที่น้ำในสมองจะไปดันสมองส่วนอื่นๆ ให้เสียหาย

ทุกคนช็อค แต่ก็ตั้งสติรีบดำเนินการทั้งหมดด้วยความรวดเร็ว ผ่าตัดสมองในเด็กสองขวบ เป็นเคสที่สุดจะบรรยายของคนเป็นพ่อแม่ ตอนนั้นแม่แหม่มยังไม่มีมามิ โมโม่ ก็ยังรับรู้ได้ถึงความทุกข์ระทมของคนเป็นพ่อแม่ได้ ก็ได้แต่ให้กำลังใจอยู่ตลอดเวลา สุดท้ายแล้วหลังจากอยู่โรงพยาบาลร่วมเดือน และเข้าออกผ่าตัดแก้ไขท่อระบายน้ำในสมองอยู่สองครั้ง ทุกอย่างก็เข้าสู่ภาวะปกติ น้องกลับมาเป็นเด็กร่าเริงเหมือนเดิม อาจจะมีอาการเก็บตัว กลัวคนแปลกหน้าอยู่บ้าง แต่เมื่อพาเข้าสังคมบ่อยๆ อาการเหล่านี้ก็หายไป


บทเรียนเรื่องนี้สอนแม่แหม่มอยู่เสมอว่า บางครั้งอาการเจ็บป่วยในเด็กเล็ก ซึ่งเรามองไม่ออกว่าเกิดจากอะไร การไปพบผู้เชี่ยวชาญแต่เนิ่นๆ ก็จะทำให้ปัญหาทั้งหลายคลี่คลายได้อย่างรวดเร็ว เพราะบางครั้งเวลาเพียงเสี้ยววินาทีก็อาจจะหมายถึงสายเกินไป อย่างเรื่องที่เล่าไป ถ้าเกิดน้องสาวของปะป๊าชะล่าใจ ไม่ยอมพาไปโรงพยาบาล หรือว่ามีพี่เลี้ยงที่ตามใจ ยอมอุ้มให้ตลอดเวลา อาการเตือนที่ปรากฏให้เห็น ก็จะถูกละเลย จนสายเกินไปจริงๆ และต้องขอบคุณโรงพยาบาลสมิติเวชศรีนครินทร์ และคุณหมอ ที่ได้ใช้ความเชี่ยวชาญ และให้คำแนะนำที่ดี สร้างขวัญและกำลังใจให้กับครอบครัวที่ต้องเผชิญหน้ากับข่าวร้ายอย่างนี้


ขอเล่าให้ฟังเกี่ยวกับโรงพยาลเพื่อเป็นข้อมูลสำหรับคุณพ่อ คุณแม่ในการพิจารณาเลือกโรงพยาบาลให้ลูกนะคะ ก่อนนี้ โรงพยาบาลสมิติเวช ศรีนครินทร์ มีโรงพยาบาลเด็ก สมิติเวช ศรีนครินทร์ เปิดอยู่ภายในด้วย แต่ตอนนี้ได้เปลี่ยนเป็น “โรงพยาบาลเด็กสมิติเวช อินเตอร์เนชั่นแนล หรือ Samitivej International Children’s Hospital” ซึ่งเป็นโรงพยาบาลเด็กเอกชนแห่งแรกของประเทศไทย มีกุมารแพทย์เฉพาะทางด้านต่างๆ สำหรับเด็ก (ร่วม 150 ท่าน) ซึ่งเรียกได้ว่าสามารถรองรับการรักษาโรคได้ในเด็กได้อย่างครบวงจร แม้จะเป็นโรคยากๆ ในเด็ก เช่น การผ่าตัดหัวใจ การเปลี่ยนถ่ายไขกระดูก เป็นต้นค่ะ

และตอนนี้โรงพยาบาลเด็กสมิติเวช อินเตอร์เนชั่นแนล มี 2 สาขา สาขาแรกอยู่ภายในโรงพยาบาลสมิติเวช ศรีนครินทร์ และอีกสาขาอยู่ในโรงพยาบาลสมิติเวช สุขุมวิท ภายใต้คอนเซ็ปต์ Hospital in the Hospital คุณพ่อคุณแม่ท่านไหนที่สนใจสามารถเข้าดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้จากเว็บไซต์นะคะ: http://www.internationalchildrenshospital.com


การเลือกสถานพยาบาลเมื่อลูกเจ็บป่วยเป็นสิ่งสำคัญ ควรจะพาลูกไปโรงพยาบาลเด็กโดยเฉพาะจะดีกว่า เพราะจะมีทีมแพทย์ และบุคคคลากรที่มีความเชี่ยวชาญเฉพาะด้านที่สามารถดูแลให้คำปรึกษาเราได้เป็นอย่างดี มีสถานที่ที่เหมาะสม สะอาดสะอ้าน และมีเครื่องไม้เครื่องมือที่เหมาะสมสำหรับเด็กโดยเฉพาะ

บางคนลูกเจ็บป่วยขึ้นมาก็คิดว่าพาไปคลีนิคก็ได้ ค่าใช้จ่ายถูกกว่าไปโรงพยาบาลเยอะเลย แต่คลีนิคที่ไม่มีแพทย์เฉพาะที่ทำการรักษาเด็กโดยตรง อาจจะวินิจฉัยไม่ตรงกับสาเหตุ แทนที่จะหายกลับเป็นเรื้อรัง กลับไปหาอีกหลายครั้ง สุดท้ายไม่หาย ก็ต้องไปโรงพยาบาลอยู่ดี  และการพาลูกไปโรงพยาบาล ไม่ใช่แค่ในยามที่ลูกเจ็บป่วย ควรพาลูกไปพบปะแพทย์เพื่อตรวจสุขภาพ และเพื่อรับคำปรึกษาในเรื่องของพัฒนาการ และโภชนาการของเด็กด้วยค่ะ


แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น ก็ไม่ได้หมายความว่าจะเชียร์ให้ทุกคนไปโรงพยาบาลกัน เพียงแต่เมื่อไม่แน่ใจในอาการก็อย่าลังเลที่จะปรึกษาผู้เชี่ยวชาญ การไปโรงพยาบาลก็ควรจะไปในขณะที่เรายังเดินไปได้ ไม่ต้องรอให้หามเข้าไปใช่ไหมคะ